เมนู

บทว่า สญฺฉินฺนปตฺโต ความว่า มีใบหล่นแล้ว. บทว่า เฉตฺวาน
คือ ตัดแล้วด้วยมรรคญาณ. บทว่า ธีโร ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อมด้วยมรรค
วิริยะ. บทว่า คิหิพนฺธนานิ ได้แก่ เครื่องผูกคือกาม. เพราะกามทั้งหลาย
เป็นเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ทั้งหลาย.
เนื้อความตามบทมีเท่านี้ก่อน ส่วนอธิบายมีดังนี้ ก็พระราชาทรง
ดำริอย่างนี้ว่า โอหนอ แม้เราละเหตุอันเป็นเครื่องปรากฏแห่งคฤหัสถ์แล้ว
พึงเป็นเหมือนต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นฉะนั้น ทรงปรารภวิปัสสนา บรรลุ
แล้วดังนี้. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.
โกวิฬารคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์
วรรคที่ 1 จบ

วรรคที่ 2 คาถาที่ 11 - 12


คาถาว่า สเจ ลเภถ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระปัจเจกโพธิสัตว์ 2 องค์ บวชในพระ-
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร
ตลอด 20,000 ปี แล้วบังเกิดในเทวโลก เคลื่อนจากเทวโลกนั้นแล้ว คนพี่
เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากรุงพาราณสี คนน้องเป็นบุตรของปุโรหิต. ทั้ง
สองนั้นถือปฏิสนธิในวันเดียวกัน ออกจากครรภ์มารดาในวันเดียวกัน เป็น
สหายเล่นฝุ่นด้วยกัน. บุตรปุโรหิตเป็นคนมีปัญญา เขาได้ทูลพระราชบุตรว่า
ข้าแต่พระสหาย พระองค์จักได้ราชสมบัติ โดยล่วงไปแห่งพระบิดา ข้าพระ-
องค์จักได้ตำแหน่งปุโรหิต พระองค์ได้รับการศึกษาดีแล้ว ควรเพื่อครอบ-
ครองราชสมบัติให้เป็นสุข มาเถิด พวกเราจักเรียนศิลป์ด้วยกัน แต่นั้น ท่าน

แม้ทั้งสองเป็นผู้มีกรรมได้สั่งสมแล้วในชาติก่อนเที่ยวหาภิกษาในคามและนิคม
เป็นต้น ไปสู่บ้านในชนบทชายแดน.
ก็พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเข้าไปสู่บ้านนั้น ในเวลาภิกขาจาร ลำดับ
นั้น มนุษย์ทั้งหลายเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว เกิดความอุตสาหะย่อมปู
อาสนะ น้อมขาทนียะ โภชนียะอันประณีตถวาย นับถือบูชา สหายทั้งสอง
นั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า มนุษย์ผู้มีตระกูลสูงเช่นพวกเรา ไม่มี เออก็มนุษย์
เหล่านี้ผิปรารถนา ก็ให้ภิกษาแก่พวกเรา ถ้าไม่ปรารถนา ก็ไม่ให้ แต่ย่อม
กระทำสักการะเห็นปานนี้แก่บรรพชิตเหล่านี้ บรรพชิตเหล่านี้คงรู้ศิลป์บาง
อย่างแน่นอน เอาเถิด พวกเราจะเรียนศิลปะในสำนักของบรรพชิตเหล่านั้น
ดังนี้. สหายทั้งสองนั้น ครั้นมนุษย์ทั้งหลายกลับแล้ว ได้โอกาสจึงอ้อนวอน
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายย่อมรู้ศิลปะใด โปรดให้พวกกระผมศึกษา
ศิลปะนั้นด้วย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า ผู้ยังไม่ได้บวชไม่อาจศึกษา
ได้. สหายทั้งสองนั้นจึงขอบรรพชาแล้วบวช.
ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายได้บอกอภิสมาจาริกวัตรแก่
บรรพชิตทั้งสองนั้น โดยนัยมีอาทิว่า ท่านพึงนุ่งอย่างนี้ พึงห่มอย่างนี้ แล้ว
มอบบรรณศาลาให้รูปละหลังว่า ความยินดียิ่งในความเป็นผู้อยู่คนเดียว เป็น
ความสำเร็จแห่งศิลปะนี้ เพราะฉะนั้น พึงนั่งคนเดียวเท่านั้น พึงจงกรม พึง
ยืน พึงนอนคนเดียว. แต่นั้นบรรพชิตทั้งสองนั้นเข้าสู่บรรณศาลาของตน ๆ
แล้วนั่ง. บุตรปุโรหิตได้ความตั้งมั่นแห่งจิต จำเดิมแต่เวลานั่งแล้ว ได้ฌาน
ราชบุตรกระสันโดยครู่เดียวเท่านั้น ก็มาสู่สำนักของบุตรปุโรหิตนั้น บุตร
ปุโรหิตนั้นเห็นราชบุตรนั้น จึงถามว่า อะไร เพื่อน.
ร. ผมกระสัน
ปุ. ถ้าเช่นนั้น จงนั่ง

ราชบุตรนั้น นั่งในที่นั้นชั่วครู่แล้ว กล่าวว่า สหาย ! ได้ยินว่า ความ
ยินดียิ่งในความเป็นผู้อยู่คนเดียว เป็นการสำเร็จแห่งศิลปะนี้. บุตรปุโรหิต
กล่าวว่า อย่างนั้น เพื่อน ! ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปสู่โอกาสที่ตนนั่งนั้นแล
เราจักเรียนความสำเร็จแห่งศิลปะนี้ ราชบุตรนั้นไปแล้ว โดยครู่เดียวเท่านั้น
ก็กระสันอีก จึงมาถึง 3 ครั้ง โดยนัยก่อนนั่นแล แต่นั้น บุตรปุโรหิตก็ส่ง
ราชบุตรกลับเหมือนอย่างนั้น ครั้นราชบุตรไปแล้ว คิดว่า ราชบุตรนี้ประกาศ
กรรมของตนและของเรา จึงมาในที่นี้เนือง ๆ ท่านจึงออกจากบรรณศาลาเข้า
สู่ป่า.
ฝ่ายราชบุตรนั่งในบรรณศาลาของตน เป็นผู้กระสันแม้อีกโดยครู่เดียว
เท่านั้น จึงมาสู่บรรณศาลาของบุตรปุโรหิตนั้น แม้ค้นหาทางนี้และทางโน้น
ก็ไม่พบบุตรปุโรหิตนั้น จึงคิดว่า ผู้ใดแม้ในเวลาเป็นคฤหัสถ์นำบรรณาการ
มา ก็ไม่ได้เพื่อเห็นเรา ผู้ชื่อนั้น เมื่อเรามาแล้ว ก็ไม่ประสงค์เพื่อจะให้เห็น
เลย ก็หลีกไปเสีย โอ ! แน่ะจิต เจ้าช่างไม่ละอาย เจ้านำเราใดมาในที่นี้ถึง
สี่ครั้ง บัดนี้ เรานั้น จักไม่เป็นไปในอำนาจของเจ้า แต่จักให้เจ้าเท่านั้นเป็น
ไปในอำนาจของเราแน่นอน ดังนี้แล้วเข้าไปสู่เสนาสนะของตน ปรารภ
วิปัสสนา กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว เหาะไปสู่เงื้อมเขานันทมูลกะ
ฝ่ายบุตรปุโรหิตนอกจากศาลานี้เข้าป่าแล้ว ปรารภวิปัสสนา กระทำให้แจ้งซึ่ง
ปัจเจกโพธิญาณ ได้ไปเหมือนอย่างนั่นเทียว.
พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้ทั้งสองนั้น นั่งบนพื้นมโนศิลาแล้ว ได้กล่าว
อุทานคาถาเหล่านี้รูปละ 1 คาถาว่า

สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ
สทฺธึจรํ สาธุวิหาร ธีรํ
อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ
จเรยฺย เตนตฺตมโน สตีมา

ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายมีปัญญา
เครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปกติ
อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึง
ครอบงำอันตรายทั้งปวง เป็นผู้มีใจชื่นชม
มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.

โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ
สทฺธึจรํ สาธุวิหาริ ธีรํ
ราชาว รฏฺฐํ วิชิตํ ปหาย
เอโก จเร มาตงฺครญฺเญว นาโค

หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา
เครื่องรักษาตนผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปกติ
อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงเที่ยว
ไปแต่ผู้เดียว ดุจพระราชาทรงละแว่นแคว้น
อันพระองค์ทรงชนะแล้วเสด็จไปแต่ผู้เดียว
ดุจพญาช้างชื่อมาตังคะ ละโขลงเที่ยวอยู่ใน
ป่าแต่ตัวเดียว ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น บทว่า นิปกํ ได้แก่ บัณฑิตผู้รอบคอบโดยปกติ คือ
ฉลาดในกสิณบริกรรมเป็นต้น. บทว่า สาธุวิหารึ ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อม
ด้วยอัปปนาวิหาร หรืออุปจาร. บทว่า ธีรํ ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยธิติ. ในคาถา

นั้น ท่านกล่าวถึงความถึงพร้อมด้วย ธิติ ด้วยอรรถว่า นิปกะ แต่ในอรรถกถา
นี้ อธิบายว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยธิตินั่นเอง. ความบากบั่นไม่ท้อถอยชื่อว่า ธิติ.
คำว่า ธิติ นั่น เป็นชื่อแห่งความเพียรอันเป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า กามํ ตโจ จ
นหารู จ
. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีระ แม้เพราะอรรถว่า มีบาปอันลอยแล้ว.
บาทคาถาว่า ราชาว รฏฺฐํ วิชิตํ ปหาย ความว่าพระราชาผู้ปรปักษ์
ทรงทราบว่า แว่นแคว้นที่ชนะแล้วนำความฉิบหายมาให้ ทรงสละราชสมบัติ
ทรงเที่ยวไปแต่พระองค์เดียวฉันใด บุคคลละสหายที่เป็นพาลแล้ว พึงเที่ยวไป
แต่ผู้เดียวฉันนั้น.
อีกประการหนึ่ง บทว่า ราชาว รฏฺฐํ ความว่า พระเจ้าสุตตโสม
ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เสด็จเที่ยวไปแต่พระองค์เดียวฉันใด และ
พระมหาชนกทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เสด็จเที่ยวไปแต่พระองค์เดียว
ฉันใด บุคคลพึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียวฉันนั้น. เนื้อความแห่งคาถานั้น มีเท่านี้.
ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายมีปัญญาเครื่องรักษาตนผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มี
ปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงครอบงำอันตรายทั้งปวง เป็นผู้มี
ใจชื่นชม มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น.
บทที่เหลือ อาจเพื่อรู้ได้ ด้วยทำนองที่กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่
ได้อธิบายให้พิสดาร.
สหายคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 13


คาถานี้ว่า อทฺธา ปสํสาม ดังนี้ มีอุบัติตั้งแต่พระปัจเจกพุทธเจ้า
ทั้งหลายนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ในพื้นระเบียง เป็นเช่นกับอุบัติในจาตุท-
ทิสคาถานั่นแล. ส่วนความแปลกกันมีดังนี้ :-